วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความหมายและพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล

                         
ความหมายการสื่อสารข้อมูล (Data Communications)
 
การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ  
           วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้  
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
 
           องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม   สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้             1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source)   อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ 
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น
  ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ  ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร 
จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน              2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์
  ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ 
ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับ
ข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ
  กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง


 3. ช่องสัญญาณ  (channel)  ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน  อาจจะเป็นอากาศ  สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว  เช่น  น้ำ  น้ำมัน เป็นต้น                4. การเข้ารหัส  (encoding)  เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย  จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้
  การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง  
ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้               5. การถอดรหัส (decoding)  หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร  โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน               6. สัญญาณรบกวน (noise)  เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ  มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร  ผู้รับข่าวสาร  และช่องสัญญาณ   
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง
  เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ  เช่น  การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล 
เป็นต้น
ข่ายการสื่อสารข้อมูล หมายถึง
   การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง 
อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (
Data Communication Networks) 

องค์ประกอบพื้นฐาน
หน่วยส่งข้อมูล (
Sending Unit)

ช่องทางการส่งข้อมูล (
Transmisstion Channel)

หน่วยรับข้อมูล (
Receiving Unit)

วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ

พัฒนาการของการสื่อสาร

หากจะพูดว่าการสื่อสารข้อมูลเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับมนุษย์คงจะไม่ผิดทั้งนี้เป็นเพราะว่าการสื่อสารข้อมูลนั้นทำให้มนุษย์สามารถสื่อความคิด เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตและมีพัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
             การติดต่อข่าวสารกันของมนุษย์ในสมัยโบราณมีวิธีการที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เช่น การใช้ม้าเร็ว นกพิราบสื่อสาร แต่เมื่อมนุษย์มีการพัฒนาความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตอย่างไม่หยุดนิ่ง เครื่องมือและอุปกรณ์ในการสื่อสารก็ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย ก้าวหน้าควบคู่กันมาทั้งนี้เพื่อความสะดวกสบายในการสื่อสาร จากการที่ใช้ม้าเร็ว นกพิราบสื่อสาร ก็เปลี่ยนมาเป็นจดหมาย หรือพัสดุภัณฑ์อื่น มีโทรเลข มีโทรศัพท์ มีวิทยุ โทรทัศน์ดาวเทียมสื่อสารที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารให้ได้ยินทั้งเสียงและได้เห็นทั้งภาพเหล่านี้ล้วนเป็นพัฒนาการด้านความคิดของมนุษย์ที่คิดค้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการข่าวสารข้อมูลของมนุษย์ด้วยกันเอง
จะว่าไปแล้ว มนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคม จึงย่อมต้องติดต่อสื่อสารกัน มนุษย์ที่อยู่อาศัยในดินแดนพื้นที่ที่ห่างไกลกัน ถึงขั้นเป็น เมือง เป็นรัฐอันอิสระ ต่างก็ต้องมีวิธีส่งข่าวสารถึงกันทั้งสิ้น

การติดต่อข่าวสารกันของมนุษย์ในสมัยโบราณมีวิธีการต่างๆ ดังนี้
ม้าเร็ว
ผู้ส่งสารในระบบ "ม้าเร็ว" นี้ ก็นับว่าดีทีเดียว คือไม่ล่าช้า ทั้งยังส่งข่าวได้ทันใจ ซึ่ง ชาวจีนโบราณมีการพัฒนาระบบการส่งข่าวทางไกลให้ คล่องตัวตลอดมา โดยระบบเฟื่องสุดขีดในช่วงที่มองโกลมาจัดการ (จริงๆ แล้วมีการพัฒนากันมานานก่อนหน้านั้นเป็น 100 ปีทีเดียว)
                 นกพิราบสื่อสาร
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 การสื่อสารระหว่างทหารที่ออกรบในสมรภูมิกับศูนย์บัญชาการ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก ถ้าจะใช้ทหารเดินเท้าในการส่งข่าว ไหนจะต้องหลบหลีกให้พ้นสายตาข้าศึก และต้อง เผชิญอุปสรรคนานัปการ ทั้งภูมิอากาศและภูมิประเทศที่กันดาร นกพิราบสื่อสาร จึงถูกนำมาใช้ในการส่งข่าวสารจากสมรภูมิกลับสู่บ้านเกิด ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการ

เคอร์ซัส พับลิคัส
ส่วนทางโรมันก็มีระบบที่ละเอียดซับซ้อนในการติดต่อส่งข่าวสารเช่นเดียวกัน ซึ่งเรียกเป็นภาษา โรมัน ว่า เคอร์ซัส พับลิคัส ระบบของโรมันนี้นับว่าฉลาดไม่น้อย คือใช้แบบส่งเป็นทอด หรือวิ่งผลัด ซึ่งทำให้ การส่งข่าวสารผ่านตลอดทั่วแดนได้โดยง่าย มีความสะดวก คล่องตัวขึ้น รวมทั้งมีการตรวจ ตราอย่างเข้มงวด มีเครือข่ายโยงใยในระบบตรวจสอบของรัฐ ซึ่งจะการันตีเรื่องความแม่นยำ และ ความน่าเชื่อถือในเรื่องของหลวงได้ดีด้วย แม้ตอนที่อาณาจักรโรมันแตก ระบบเคอร์ซัส พับลิคัส นี้ยัง ยืนหยัดใช้กันอยู่พอสมควร



ระบบไปรษณีย์
ครั้นถึงยุคกลางของยุโรป ก็มีวิธีการอื่นขึ้นมา ซึ่งเกิดจากการค้าขายที่เฟื่องฟู โดยเฉพาะในอิตาลี ติดต่อส่งสินค้าการพาณิชย์ กันในเมืองใหญ่ๆ เช่น จากเวนิส ถึง คอนสแตนติโนเปิลฯ ต่อมามีความเจริญก้าวหน้าของระบบการศึกษา ตลอดจนระบบการพิมพ์ก็มีการพัฒนาเพิ่มยิ่งขึ้น รัฐบาลของประเทศต่างๆ จึงเห็นความสำคัญของการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ และข้ามทวีป เมื่อมี การเขียนจดหมายมากขึ้น และมีความต้องการสื่อสารอย่างเร่งรีบขึ้น จึงมีกลุ่มบุคคลที่เล็งเห็นความ สำคัญของการทำ

http://std.kku.ac.th/4630801725/Technology%20Internet/e-mail.doc